ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น http://paaoobtong.siam2web.com/

 

 

ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

Locality Development Research Center: LDRC

ปรัชญา(Philosophy)

         องค์ความรู้จากการวิจัยเป็นปัจจัยหลักสำหรับการพัฒนาท้องถิ่น

วิสัยทัศน์(Vision)

         ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศระดับท้องถิ่นที่รวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ผลงานวิจัย ที่จำเป็นต่อการพัฒนาท้องถิ่นไทยสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานของวัฒนธรรมไทย

พันธกิจ (Mission)

           1. การวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

           2. การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

           3. การผลิตสื่อเผยแพร่วิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (เช่น แผ่นป้ายนิเทศ แผ่นซีดี/วีซีดี/ดีวีดี เว็บไซต์ เอกสารทั้งในรูปของสิ่ง
                พิมพ์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ)

           4. การจัดกิจกรรมเชิงวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (เช่น เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้   การประชุมสัมมนา การศึกษาดูงาน 
                การบรรยาย/สาธิต การจัดนิทรรศการ ฯลฯ)

เป้าประสงค์ (Goals)

           1. เกิดผลงานวิจัยที่เป็นฐาน/องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับการพัฒนาท้องถิ่นแบบองค์รวม

           2. ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการพัฒนาท้องถิ่น และเห็นความสำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งใน
               
การพัฒนาท้องถิ่น

           3. สื่อที่ผลิตขึ้นเพื่อเผยแพร่วิชาการถูกนำไปใช้ในกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นของบุคคลกลุ่ม องค์กร และหน่วยงานต่างๆ

           4. กิจกรรมเชิงวิชาการมีส่วนช่วยสร้างเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวน
               การพัฒนาท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ (Strategies)

            1. การประชาสัมพันธ์เผยแพร่แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมของศูนย์ฯ ผ่านสื่อต่างๆ

            2. การระดมทรัพยากร (คน เงิน วัสดุอุปกรณ์) เพื่อปฏิบัติภารกิจตามพันธกิจของศูนย์ฯ

            3. การสร้างความร่วมมือ/การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

            4. การสร้างพันธมิตรด้านการพัฒนาท้องถิ่นกับองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ

            5. การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน

ตัวชี้วัด (Indicators)

            ตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ที่1 เกิดผลงานวิจัยที่เป็นฐาน/องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับการพัฒนาท้องถิ่นแบบองค์รวม

ตัวชี้วัดประกอบด้วย

  • - จำนวนผลงานวิจัย
  • - จำนวนประชาชนที่มีส่วนร่วมการวิจัย
  • - จำนวนครั้ง/จำนวนกิจกรรมที่นำผลการวิจัยไปใช้
  • - ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ผลงานวิจัย

        ตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ที่ 2 ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการพัฒนาท้องถิ่น และเห็นความสำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาท้องถิ่น

ตัวชี้วัดประกอบด้วย

  • - จำนวนโครงการอบรมต่อปี
  • - จำนวนผู้ผ่านการอบรม
  • - ระดับความรู้ ความเข้าใจของผู้ผ่านการอบรม
  • - ระดับความสามารถของผู้ผ่านการอบรม
  • - ระดับความพึงพอใจของผู้ผ่านการอบรม
  • - ระดับเจตคติที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

         ตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ที่ 3 สื่อที่ผลิตขึ้นเพื่อเผยแพร่วิชาการถูกนำไปใช้ในกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นของบุคคล กลุ่ม องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ

ตัวชี้วัดประกอบด้วย

  • - จำนวนสื่อจำแนกตามประเภท
  • - ร้อยละของสื่อที่ถูกนำไปใช้จำแนกตามประเภท
  • - ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อ

       ตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ที่ 4 กิจกรรมเชิงวิชาการมีส่วนช่วยสร้างเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น

ตัวชี้วัดประกอบด้วย

  • - จำนวนกิจกรรมเชิงวิชาการต่อปีจำแนกตามประเภท
  • - จำนวน/ประเภทของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • - ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • - ร้อยละผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

ยังไม่จบจะอ่านต่อโปรดกด...ที่นี่

 (image5) 200967_11407.jpg   (image5) 200967_11445.jpg  (image5) 200967_11490.jpg  (image5) 200967_11555.jpg
                               

 

 
 
 

 
   
 (image1) 200967_36061.jpg  (image1) 200967_36119.jpg
 

 

                                                

Google

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 7,741 Today: 5 PageView/Month: 6

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...